Howland Homestead Farm Agriculture เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องใด

เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องใด

<strong>เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องใด</strong> post thumbnail image

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ภายใต้สภาวะวิกฤติโควิด – 19 สร้างความโกลาหลครั้งใหญ่ให้กับโลกอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่งผลให้ทุกหน่วยงานทั้งหน่วยเล็กและหน่วยงานใหญ่ พนักงานลูกจ้าง โดยเฉพาะเกษตรกร ต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากชีวิตความเป็นอยู่สุขสบายกลายเป็นมีเงินใช้จ่ายไม่เพียงพอ หลายคนต้องมองแนวทางแก้ปัญหา “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดภาระหนี้” เพื่อก้าวข้ามวิกฤติไปให้ได้ 

และหนึ่งในทางออกที่เป็นคำตอบที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นหลักในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่แบบผสมผสานเปลี่ยนแปลงสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีกินมีใช้ในพื้นที่ทำกินของตนเอง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนอกบ้าน และมีผลผลิตที่ปลูกและเลี้ยงไว้ไปขายสร้างรายได้ ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตใหม่ในสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น 

เกษตรทฤษฎีใหม่ มุ่งเน้นให้สามารถทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองบนพื้นฐาน “ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี” โดยใช้หลักในการบริหารจัดการน้ำและที่ดิน เพื่อการเกษตรขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ขั้นตอนการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

มี 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  • การผลิต มุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยวิธีที่ง่ายและค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังที่มี
  • การรวมพลังกัน เพื่อสร้างสหกรณ์หรือกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การตลาด สวัสดิการ ความเป็นอยู่ การศึกษา สังคม หรือศาสนา
  • การดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นให้เข้าใจกระบวนการทำงาน ทำการติดต่อ ประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน

หลักการสำคัญในการดำเนินงานเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่

เป็นระบบการผลิตที่ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานแก่เกษตรกรที่ประสบปัญหาวิกฤตและความยากลำบาก เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น และส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน โดยจัดสรรพื้นที่ที่ครอบครองอยู่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกันไป แบ่งอัตราส่วนเป็น 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้

  • 30% ใช้ขุดสระกักเก็บน้ำ ต้องมีการคำนวณขนาดและปริมาณน้ำที่สามารถกักเก็บได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี เพื่อใช้เสริมในการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ตามสมควร เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชน้ำ
  • 30% ใช้ปลูกข้าว เป็นพื้นที่ที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกอาหารที่จำเป็นสำหรับทุกครัวเรือนให้เพียงพอตลอดทั้งปี โดยต้องจัดซื้อในราคาประหยัดและสามารถพึ่งพาตนเองได้
  • 30% ใช้ปลูกพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ ไม้ยืนต้น เป็นการปลูกผสมผสานพืชหลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยเน้นไปที่พืชผัก ผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หรือหากเหลือจากการบริโภคก็สามารถนำไปขายสร้างรายได้
  • 10% เป็นที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ พื้นที่ 10% ที่เหลือจะใช้เป็นที่อยู่อาศัย โรงเรือน สิ่งก่อสร้าง คอกสัตว์ เรือนยุ้งฉางเก็บผลผลิตการเกษตร และอื่น ๆ ตามสมควร

แน่นอนว่า เกษตรทฤษฎีใหม่จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาแก่เกษตรกรที่ประสบปัญหาทั้งภัยแล้งและความยากลำบากในการทำการเกษตร แต่ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับยุคโควิด – 19 ที่การแพร่ระบาดยังคงสร้างความเสียหายและความโกลาหลให้กับประเทศไทยไม่น้อย ทำให้แม้กระทั่งผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ก็อยากทดลองใช้วิถีชีวิตการทำการเกษตรที่ยั่งยืน หากสนใจก็สามารถนำเอาการจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการที่ดินที่ตนเองครอบครองอยู่ อีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้คุณสามารถผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตนี้ไปได้

Related Post

ดินที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก

ดินชนิดใดเหมาะในการเพาะปลูกมากที่สุดดินชนิดใดเหมาะในการเพาะปลูกมากที่สุด

เชื่อว่า หลายคนที่กำลังเริ่มต้นอยากปลูกผักสวนครัวปลูกพืชไว้กินเอง ต้องเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับชนิดของดินที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ควรเป็นดินชนิดไหน เพราะพืชแต่ละประเภทเติบโตได้ดีในดินที่แตกต่างกันไป อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถชี้วัดได้ว่า พืชที่คุณปลูกจะเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ แล้วจะมีดินชนิดใดเหมาะกับการเพาะปลูกมากที่สุด เราจะพาคุณไปไขข้อข้องใจ ก่อนอื่นอยากให้ทำความรู้จักกับ 5 ลักษณะดินดีที่ปลูกอะไรก็ได้ผล เพื่อให้แน่ใจว่า ดินที่คุณกำลังเพาะปลูกนั้นเป็นดินดีและช่วยให้พืชที่ควรปลูกเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ อย่างไร ให้คุณพิจารณาจากองค์ประกอบของดิน ดังต่อไปนี้ 1. ดินที่มีธาตุอาหารพืชเพียงพอ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชต้องการมีทั้งหมด 13 ชนิด ได้แก่ N, P, K, Ca, Mg, S, Fe,

แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในยุคโควิด – 19การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในยุคโควิด – 19

การเกษตรอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง ก่อให้เกิดผลผลิตที่สามารถนำมาใช้ในการบริโภคในชีวิตประจำวัน และส่งออกเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว รวมถึงหน่วยงานขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่  ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง ธัญพืช น้ำตาล ข้าวเจ้า แม้แต่อาหารแปรรูปก็เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและนำรายได้เข้าสู่ประเทศ  ประเทศไทย เป็นประเทศส่งออกอาหารแปรรูปอันดับต้น ๆ ของโลก โดยการนำเอาผลผลิตจากการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชมาเปลี่ยนสภาพด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้มีรูปร่างแตกต่างจากเดิม เช่น พืชตระกูลถั่วแปรรูปเป็นน้ำมันพืช ครีมเทียม นมถั่วเหลือง แป้งข้าวแปรรูปเป็นแป้งเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น  ประโยชน์ของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสามารถนำมาแปรรูปได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับผลผลิตที่นำมาใช้ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งออกจากประเทศ ยังมีประโยชน์อีกหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น